รวมข้อสงสัยในการสอบเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น (อบต เทศบาล อบจ.) ประจำปี 25641. ไม่ผ่านภาค ก ของท้องถิ่น จะสามารถสมัครสอบได้ไหม?
ตอบ สามารถสมัครสอบได้ เพราะการสอบในครั้งนี้เป็นการสอบภาค ก ภาค ข ในคราวเดียวกัน
2. ไม่ผ่านภาค ก ของสำนักงาน ก.พ. จะสามารถสมัครสอบได้ไหม?
ตอบ สามารถสมัครสอบได้ ภาค ก ของท้องถิ่นกับของ ก.พ. เป็นคนละส่วนกัน ผู้สมัครสอบปกครองส่วนท้องถิ่นไม่จำเป็นต้องผ่านภาค ก ของ ก.พ.
3. ผู้ที่เคยสอบผ่านภาค ก ของท้องถิ่น หรือผ่านภาค ก ของ ก.พ. มาแล้ว ในการสอบครั้งก่อนสามารถนำมาใช้กับครั้งนี้ได้หรือไม่?
ตอบ ไม่ได้ ไม่เกี่ยวกัน ภาค ก ของท้องถิ่นหมดอายุไปนานแล้ว ส่วนภาค ก ของ ก.พ. เป็นคนละส่วนกัน ดังนั้นผู้ที่สมัครสอบท้องถิ่นในปี 2564 จะสอบเหมือนกันหมด คือ สอบภาค ก. และภาค ข และหากผ่าน 60% ถึงจะมีสิทธิสอบภาค ค ต่อไป
4. อายุเยอะแล้วสมัครสอบได้ไหม?
ตอบ เงื่อนไขอายุคือ ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ถ้ามากกว่า 18 สมัครได้เลย
5. ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ที่เชียงใหม่ จะสมัครสอบอุดรธานี ได้หรือไม่
ตอบ ได้ สามารถสมัครสอบได้ทุกที่ทั่วประเทศ เพียงแต่หากสอบได้ที่ไหนก็จะได้ขึ้นบัญชีในเขตนั้นๆ ถ้าหากสอบได้บรรจุต้องทำงานในองค์กรปกครองท้องถิ่นที่บรรจุนั้น 2 ปี จึงสามารถย้ายไปที่อื่นได้
6. วุฒิ ม.6 สอบได้ไหม?
ตอบ ไม่ได้ การสอบของส่วนท้องถิ่นจะเปิดรับผู้ที่มีวุฒิ ปวช. ปวส. อนุปริญญา ปวท. ปริญญาตรี ขึ้นไป
7. วุฒิ ปวช, ปวส,ปวท ,อนุปริญญา ,ปริญญาตรี สอบได้ไหม?
ตอบ ได้ แต่ต้องดูคุณสมบัติของตำแหน่งนั้นๆว่าตรงกับที่เราจบมาหรือไม่
8. ไม่มีตำแหน่งที่ตรงกับคุณวุฒิที่จบมาทำอย่างไรดี
ตอบ หาตำแหน่งที่เปิดรับสมัครโดยไม่จำกัดสาขาวิชา
9. พนักงานส่วนตำบล เป็นตำแหน่งข้าราชการหรือไม่?
ตอบ ใช่ เป็นตำแหน่งข้าราชการส่วนท้องถิ่น
10. หากสอบผ่านแล้วได้ขึ้นบัญชีไว้ อายุบัญชีมีกำหนดกี่ปี
ตอบ 2 ปี
11. ตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานเทศบาล เป็นข้าราชการหรือไม่
ตอบ ใช่
12. หากสอบได้จะบรรจุลงที่ไหน?
ตอบ มีการแบ่งเป็น 10 เขตตามภูมิภาค ผู้สมัครต้องเลือกสอบในกลุ่มเขต ดังนี้
(1) กลุ่มภาคกลาง เขต 1 ได้แก่ 1. จังหวัดชัยนาท 2. จังหวัดนนทบุรี 3. จังหวัดปทุมธานี 4. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 5. จังหวัดลพบุรี 6. จังหวัดสระบุรี 7. จังหวัดสิงห์บุรี 8. จังหวัดอ่างทอง
(2) กลุ่มภาคกลาง เขต 2 ได้แก่ 1. จังหวัดจันทบุรี 2. จังหวัดฉะเชิงเทรา 3. จังหวัดชลบุรี 4. จังหวัดตราด 5. จังหวัดนครนายก 6. จังหวัดปราจีนบุรี 7. จังหวัดระยอง 8. จังหวัดสมุทรปราการ 9. จังหวัดสระแก้ว
(3) กลุ่มภาคกลาง เขต 3 ได้แก่ 1. จังหวัดกาญจนบุรี 2. จังหวัดนครปฐม 3. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4. จังหวัดเพชรบุรี 5. จังหวัดราชบุรี 6. จังหวัดสมุทรสงคราม 7. จังหวัดสมุทรสาคร 8. จังหวัดสุพรรณบุรี
(4) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 ได้แก่ 1 จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. จังหวัดขอนแก่น 3. จังหวัดชัยภูมิ 4. จังหวัดนครราชสีมา 5. จังหวัดบุรีรัมย์ 6. จังหวัดมหาสารคาม
(5) กลุ่มตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 ได้แก่ 1. จังหวัดมุกดาหาร 2. จังหวัดยโสธร 3. จังหวัดร้อยเอ็ด 4. จังหวัดศรีสะเกษ 5. จังหวัดสุรินทร์ 6. จังหวัดอำนาจเจริญ 7. จังหวัดอุบลราชธานี
(6) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 ได้แก่ 1. จังหวัดนครพนม 2. จังหวัดบึงกาฬ 3. จังหวัดเลย 4. จังหวัดสกลนคร 5. จังหวัดหนองคาย 6. จังหวัดหนองบัวลำภู 7. จังหวัดอุดรธานี
(7) กลุ่มภาคเหนือ เขต 1 ได้แก่ 1. จังหวัดเชียงราย 2. จังหวัดเชียงใหม่ 3. จังหวัดน่าน 4. จังหวัดพะเยา 5. จังหวัดแพร่ 6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7. จังหวัดลำปาง 8. จังหวัดลำพูน
(8) กลุ่มภาคเหนือ เขต 2 ได้แก่ 1. จังหวัดกำแพงเพชร 2. จังหวัดตาก 3. จังหวัดนครสวรรค์ 4. จังหวัดพิจิตร 5. จังหวัดพิษณุโลก 6. จังหวัดเพชรบูรณ์ 7. จังหวัดสุโขทัย 8. จังหวัดอุตรดิตถ์ 9. จังหวัดอุทัยธานี
(9) กลุ่มภาคใต้ เขต 1 ได้แก่ 1. จังหวัดกระบี่ 2. จังหวัดชุมพร 3. จังหวัดนครศรีธรรมราช 4. จังหวัดพังงา 5. จังหวัดภูเก็ต 6. จังหวัดระนอง 7. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(10) กลุ่มภาคใต้ เขต 2 ได้แก่ 1. จังหวัดตรัง 2. จังหวัดนราธิวาส 3. จังหวัดปัตตานี 4. จังหวัดพัทลุง 5. จังหวัดยะลา 6. จังหวัดสงขลา 7. จังหวัดสตูล
13. เป็นข้าราชการอยู่แล้ว สามารถสมัครสอบได้หรือไม่
ตอบ ได้ และรับโอนเฉพาะอายุราชการ แต่ได้เงินเดือนตามประกาศรับสมัครฯ
14. มีวุฒิปริญญาตรี แต่อยากสอบในคุณวุฒิ ปวช. ปวส. ได้หรือไม่
ตอบ ได้ แต่ต้องเป็นสาขาที่ตรง หรือเกี่ยวข้อง ตามประกาศรับสมัครที่ระบุคุณวุฒิที่รับสมัคร
15. ไม่มีเส้นจะสอบผ่านไหม?
ตอบ นี่เป็นครั้งที่ 3 ในการเปิดสอบครั้งใหญ่ของ กสถ.ที่ใช้กฏระเบียบใหม่ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเล็งเห็นถึงปัญหาในการสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่มีช่องให้มีการทุจริตในการสอบอยู่มาก จึงเปลี่ยนวิธีการสอบใหม่จากที่เคยสอบขึ้นบัญชีภาค ก. ไว้ แล้วให้ผู้สอบผ่านเดินสายสอบตามหน่วยงานที่จะเปิดรับสมัครสอบในภาค ข. เปลี่ยนเป็นสอบภาค ก. ภาค ข. หากผ่านก็สอบ ภาค ค. แล้วขึ้นบัญชีรอให้หน่วยงานที่มีตำแหน่งว่างเรียกบรรจุเข้าทำงาน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อป้องกัน "เส้น" ดังนั้นการสอบเข้ารับราชการในส่วนของท้องถิ่นครั้งนี้จึงเรียกได้ว่าโปร่งใสเป็นอย่างมาก บางครั้งคนเราก็ยึดติดกับอดีตที่เคยได้พบได้รับรู้มา ในบางครั้งประเด็นคำว่า เส้นสาย มันก็เป็นแค่จิตวิทยาที่คู่แข่งพูดออกมาเพื่อทำให้อีกฝ่ายท้อแท้ หมดกำลังใจ เพียงแค่คุณเตรียมตัวให้พร้อม รับรองคุณทำได้แน่นอน อย่ามัวแต่โทษเส้นสายเลย...
-
ความรู้เกี่ยวกับการสอบท้องถิ่น อบต เทศบาล 2562-
ขั้นตอนการสมัครสอบท้องถิ่น-
รวมข้อสงสัยในการสอบเข้ารับราชการส่วนท้องถิ่น-
วิชาที่ออกข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก. ทุกตำแหน่ง-
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ-
จังหวัดที่เป็นสนามสอบท้องถิ่น-
การเตรียมตัวสอบภาค ค. (สัมภาษณ์) ท้องถิ่น
***ท่านจะไม่พลาดข่าวงานราชการ เพียงติดตามเราที่ www.facebook.com/ประกาศผลสอบcom-404237596310906
หมวดหมู่ ::
แนวข้อสอบท้องถิ่น 2564
เข้าชม 362903 ครั้ง